siberian

 
 

สุนัขทุกสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาพันธุ์ขึ้นมีบรรพบุรุษเดียวกันนั่นคือสุนัขป่าโบราณ(วงศ์ Canidae)[1] ไซบีเรียนฮัสกี, ซามอย, และอะแลสกันแมละมิวต์นั้นสืบสายพันธุ์โดยตรงจากสุนัขลากเลื่อน[2] จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ช่วยยืนยันว่ามันเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีการเพาะเลี้ยงมาแต่โบราณ[3] คำว่า "ฮัสกี (husky)" ได้มาจากชื่อที่ใช้เรียกชาวอินนูอิต (Inuit) ว่า "ฮัสกีส์ (huskies)" โดยคณะสำรวจคนขาว (Caucasian) คณะแรก ๆ ที่มาถึงแผ่นดินของพวกเขา ส่วนคำว่า "ไซบีเรียน (Siberian)" ได้มาจากไซบีเรียนั่นเองเนื่องจากความคิดที่ว่าสุนัขลากเลื่อนนี้ถูกใช้ในการข้ามสะพานแผ่นดินของช่องแคบเบริงที่เป็นทางเข้าสู่หรือออกจากรัฐอะแลสกา[2] ซึ่งทฤษฎีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่ผู้ที่ทำการศึกษาค้นคว้า[4] สุนัขที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขเอซคิโมสามารถพบได้ตลอดซีกโลกด้านเหนือจากไซบีเรียถึงประเทศแคนาดารัฐอะแลสกากรีนแลนด์, แลบราดอร์ (Labrador) และเกาะแบฟฟิน (Baffin Island)[2]
ด้วยความช่วยเหลือของไซบีเรียนฮัสกี ประชาชนของชนเผ่าต่าง ๆ ไม่เพียงแค่รอดตายเท่านั้นในการออกสำรวจดินแดนที่ไม่มีรู้จัก พลเรือเองรอเบิร์ต เพียรี (Robert Peary) แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาก็ได้รับความช่วยเหลือจากสุนัขสายพันธุ์นี้ระหว่างคณะสำรวจของเขาออกสำรวจขั้วโลกเหนือ บทบาทของไซบีเรียนฮัสกีในกระทำหน้าที่นี้ไม่สามารถเป็นที่หยั่งรู้ได้[2]
สุนัขจากแม่น้ำอะนาดืยร์ (Anadyr River) และพื้นที่รอบ ๆ ถูกนำเข้ามาในรัฐอะแลสกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908 (และเป็นเวลา 2 ทศวรรษ)ในช่วงตื่นทองเพื่อใช้เป็นสุนัขลากเลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน All-Alaska Sweepstakes (AAS) หรือการแข่งสุนัขลากเลื่อนทางไกลซึ่งเป็นระยะทาง 408 ไมล์ (657 กม.) จากเมืองโนม (Nome) ถึงเมืองแคนเดิล (Candle) ไปและกลับ "เล็กกว่า เร็วกว่า และอดทนมากกว่า ในการบรรทุกน้ำหนักราว 100 - 120 ปอนด์ (45 - 54 กิโลกรัม)" มันเป็นส่วนสำคัญใกล้ชิดของผู้เข้าแข่งขันยาวโนมที่มีชื่อเสียง ลีออนฮาร์ด เซปพารา (Leonhard Seppala) ที่เคยเป็นผู้เพาะเลี้ยงไซบีเรียนฮัสกีมาก่อนที่จะเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 ถึงช่วง ค.ศ. 1920[2]
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925 กันเนอร์ คาเซ็น (Gunnar Kaasen) เป็นผู้นำเซรุ่มไปถึงเมืองโนมเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1925 เพื่อรักษาโรคคอตีบ กันเนอร์ได้ออกจากเมืองเนแนนา (Nenana) ไปสู่เมืองโนมเป็นระยะทางมากกว่า 600 ไมล์ ด้วยความพยายามของผู้เดินทางและความช่วยเหลือของสุนัขลากเลื่อน การแข่งขัน Iditarod Trail Sled Dog Race (การแข่งสุนัขลากเลื่อนสู่เมื่องอิดิตทารอต) ที่จัดขึ้นก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการขนส่งเซรุ่มนี้เอง และเหตุการณ์นี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันในปี ค.ศ. 1995 ที่ชื่อ "บอลโต" (Balto) ตามชื่อของสุนัขนำทีมของกันเนอร์ และเพื่อเป็นเกียรติแก่สุนัขนำทีมบอลโต มีการสร้างรูปหล่อเหมือนที่ทำจากทองแดง ตั้งอยู่ในเซ็นทรัลพาร์กในรัฐนิวยอร์ก มีคำจารึกดังนี้
อุทิศแก่จิตวิญญาณที่ทรหดของสุนัขลากเลื่อนที่นำเชื้อต้านพิษบนทางยากลำบากเต็มไปด้วยน้ำแข็ง 600 ไมล์, ข้ามลำน้ำที่แข็งตัว, ฝ่าพายุหิมะของขั้วโลกเหนือจากเมื่องนีนนานาสู่เมืองนอมน์ที่รอความช่วยเหลือให้พ้นจากโรคร้ายในฤดูหนาวปี ค.ศ. 1925 อดทน--ซื่อสัตย์--มีไหวพริบ[2]
ในปี ค.ศ. 1930 ไซบีเรียนฮัสกีตัวสุดท้ายถูกนำออกจากรัฐบาลโซเวียตใกล้กับพรมแดนของไซบีเรียเพื่อการแลกเปลี่ยนกับภายนอก ปีเดียวกันมีการจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกีโดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัขแห่งสหรัฐอเมริกาเป็น 9 ปีหลังจากสายพันธุ์นี้ถูกจดทะเบียนในประเทศแคนนาดา ณ วันนี้ไซบีเรียนฮัสกีที่จดทะเบียนในอเมริกาเหนือเป็นลูกหลานส่วนใหญ่ของไซบีเรียนฮัสกีที่ถูกนำเข้ามาในปี ค.ศ. 1930 และสุนัขของลีออนฮาร์ด เซปพารา เซปพาราเจ้าของคอกสุนัขในนีนนานาก่อนที่จะย้ายไปอยู่นิวอิงแลนด์ อาร์เทอร์ วอลเดน (Arthur Walden) เจ้าของคอกสุนัขชินุก (Chinook) แห่งวอนาแลนซิต (Wonalancet) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ผู้มีไซบีเรียนฮัสกีในคอกที่โดดเด่น สุนัขตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคอกของเขามาจากอะแลสกาโดยตรงและมาจากคอกของเซพพารา[2]
ก่อนที่จะมีชื่อเสียง ในปี ค.ศ. 1933 ว่าที่พลเรือเอกริชาร์ด อี. เบิร์ด (Richard E. Byrd) แห่งกองทัพเรือได้ซื้อสุนัขไซบีเรียนฮัสกีราว ๆ 50 ตัวด้วยตัวเขาเอง หลายตัวถูกรวบรวมและฝึกจากคอกชินุกในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ เพื่อใช้ในคณะสำรวจของเบอร์ดที่เขาหวังจะเดินทางราว 16,000 ไมล์ไปตามชายฝั่งของทวีปแอนตาร์กติกา ที่เรียกว่าปฏิบัติการกระโดดสูง (Operation Highjump) ประวัติการเดินทางนี้เองที่พิสูจน์ให้เห็นคุณค่าของไซบีเรียนฮัสกีเพราะขนาดที่พอเหมาะและความเร็วที่ดีเยี่ยม[2] กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ใช้ไซบีเรียนฮัสกีในการค้นหาและช่วยเหลือในขั้วโลกเหนือของคำสั่งขนส่งทางอากาศระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[5]

ที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B5
homepage

ความคิดเห็น